ประเภทของประกันภัย-ศรีกรุงโบรคเกอร์การประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ- กรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ ( พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ )
- ประกันภัยภาคสมัครใจ ( ประกันภัยประเภท 1, 2, 3ธรรมดา,2+,3+ )
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับคือพรบ. นั่นเอง คำว่าพรบ. ที่เราพูดกันติดปากนั้นหมายถึง ประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ 2535 โดยบังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำประกันภัยพรบ.นี้ หากไม่ทำตามกฎ ก็จะมีโทษตามกฎหมาย มีความผิดปรับไม่เกิน10,000 บาท ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ใช้เพื่อคุ้มครองคนบนท้องถนนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถชน เช่นโดนรถชนเสียชีวิต หรือพิการ หรืออาจจะได้รับบาดเจ็บ ซึ่งส่วนนี้พรบ.จะเป็นเสมือนตัวช่วยคุ้มครองคนด้วย ผู้ได้รับอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เหล่านี้ สามารถเรียกร้องสิทธิ์ความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับจากคู่กรณีของท่านได้เลย ส่วนท่านได้ที่ไม่มี พรบ. หากเกิดอุบัติเหตุ แล้วมีคนเสียชีวิต หรือพิการ หรือบาดเจ็บ ท่านก็ต้องดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนของพรบ.ไปให้ครบถ้วนก่อน ถึงจะสามารถเรียกใช้ในส่วนของ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจได้ อยากขอแนะนำท่านผู้ใช้รถทั้งหลาย เบี้ยประกันภัยพรบ.ราคาถูกมาก เพียงไม่กี่ร้อยบาท ท่านสมัครสมาชิกกับบริษัทศรีกรุงโบรคเกอร์ ก็ได้เบี้ยพรบ.ราคาถูกลงไปอีก หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา พรบ.เป็นตัวช่วยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แม้ไม่มากอะไร แต่ก็ช่วยบรรเทารายจ่ายของท่านและผู้ประสบอุบัติเหตุได้ทันที
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ) แบบเดิมแบบใหม่ เริ่ม 1 เมษายน 2559 | ความคุ้มครอง | แบบเดิม | แบบใหม่ | วงเงินคุ้มครอง (บาท/คน) | 1.จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด (กรณีเป็นฝ่ายผิด) | | 1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) | ไม่เกิน 30,000 | ไม่เกิน 30,000 | 1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | 35,000 | 35,000 | ข้อ 1.1,1.2 รวมกันแล้วต้องไม่เกิน | 65,000 | 65,000 | 2.จำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้ (กรณีเป็นฝ่ายถูก) | | 2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) | ไม่เกิน 50,000 | ไม่เกิน 80,000 | 2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | | 300,000 | 2.3 สูญเสียอวัยวะ | 200,000 - 300,000 | 2.3.1 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป | 200,000 | 300,000 | 2.3.2 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งข้อเท้า หรือขา หรือสายตา หรือหูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ ความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว เสียอวัยวะอื่นใด | 250,000 | 2.3.3 สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว | 200,000 | 2.4 ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน | 4,000 | 4,000 | 2.5จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดสำหรับรายการข้อ 2.1,2.2,23 และ 2.4 รวมกันต้องไม่เกิน | 204,000 | 304,000 | 2.6 วงเงินคุ้มครองความรับผิดสสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (ไม่เกิน) | 5,000,000 / ครั้ง | 2.7 วงเงินคุ้มครองความรับผิดสสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง | 10,000,000 / ครั้ง |
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ การทำประกันภัยที่เกิดขึ้น โดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์หรือผู้ขับขี่รถยนต์ ซึ่งการทำประกันเกิดขึ้นโดยไม่ได้ถูกบังคับจากกฎหมาย ประกันภัยรถยนต์ที่แพร่หลายกันอย่างมากในตลาดคือประกันภัยภาคสมัครใจ โดยมีราคาประกันภัยหลากหลายให้เลือกใช้ ตามการใช้งานของผู้ขับขี่ เช่นถ้าเป็นรถยนต์ใหม่ๆ ออกมาได้แค่ไม่กี่ปี ใช้งานทุกวัน แบบนี้ส่วนมากจะนิยมทำ ประกันภัยชั้น1 หรือรถที่อายุการใช้งานมากแล้ว ไม่ค่อยได้ขับไปไหน ไม่ค่อยเกิดอุบัติเหตุ แบบนี้ก็จะแนะนำให้ทำชั้น2+,3+,3ธรรมดา หรือขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ของผู้ที่จะทำประกันภัยนั่นเอง
ประเภทความคุ้มครองของประกันภัยทั้ง 5 ประเภทคือ ประเภท1 (ชั้น1) คุ้มครองทุกกรณี ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันภัย ประเภท2 (ชั้น2) คุ้มครองให้ทุกกรณีเหมือนกับชั้นหนึ่ง เว้นกรณี รถชนรถ ประเภท3 (ชั้น3ธรรมดา) คุ้มครองตามตารางด้านล่าง เว้นกรณี รถสูญหาย ไฟไหม้ รถชนรถ ประเภท4 (ชั้น4) คุ้มครองเฉพาะทรัพย์สินบุคคลภายนอก ณ ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีบริษัทประกันภัยขายแล้ว
ประเภท5 (ชั้น5) แบ่งย่อยเป็น 2 แบบคือ
- ประกันชั้น 2+ คุ้มครองตามตารางคือ รถชนรถ สูญหาย ไฟไหม้
- ประกันชั้น 3+ คุ้มครองตามตารางคือ รถชนรถ
ภาคสมัครใจของประกันภัยประเภท 1 มี 2 แบบคือ
1.กรมธรรม์ประกันภัยแบบระบุผู้ขับขี่ คือใช้อายุผู้ขับขี่เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเบี้ยประกันภัยสำหรับรถใช้งานส่วนบุคคล ระบุได้สูงสุด 2 ท่าน หากมีผู้อื่นที่ไม่ได้ระบุอายุขับแล้วชนเป็นฝ่ายผิด จะต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนแรก 2.กรมธรรม์ประกันภัยแบบไม่ระบุผู้ขับขี่ คือบุคคลใดขับขี่รถยนต์ก็ได้ คุ้มครองให้เสมือนเป็นผู้เอาประกันภัยเอง
|